ภาษิตไทย ที่ว่า รู้เค้า รุ้เรา สามารถนำมาใช้ได้กับการสอบนี้ได้จริงๆๆนะค่ะ เมื่อเรารู้แนวข้อสอบแล้ว คราวนี้มารู้แนวการตรวจข้อสอบของคณะกรรมการกันด้วยนะค่ะ รับรอง รบ 100 ครั้ง ชนะ 100 ครั้ง
แอนขออนุญาต เอาโน๊ตย่อ ที่จดไว้ ตอนเตรียมตัวสอบ เมื่อปี 2011 มาลงให้อ่าน ถ้าผิดพลาดตรงไหน เพื่อนๆ มาช่วยกันแก้นะค่ะ อย่าได้เกรงใจแอนค่ะ เพราะคนรุ่นหลัง จะได้ไม่จำกันไปแบบผิดๆๆ เราต้องคอยติดตามข่าวการเปลี่ยนแปลงจาก DUO-IB-groep กันด้วยนะ เพราะแนวมันอาจจะเปลี่ยนไปบ้างค่ะ
Leesstrategie: เทคนิคการอ่าน
เรามีวิธีการอ่าน อยู่หลัก 4 แบบด้วยกัน คือ
- Plezier (การอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน) เช่นอ่านนิยาย การ์ตุน
- Informatie (การอ่านเพื่อหาข้อมูล) เช่นข้อมูลเตรียมเที่ยว การท่องเนต
- Leren (การอ่านเพื่อการเรียน) เช่นการอ่านของนักเรียน นักศึกษา
- Toets (การอ่านเพื่อการสอบ) เป็นการอ่านแบบ Extensive คืออ่านแบบรวดเร็ว โดยแนะให้อ่านตามคำถาม Wat vraag ze?
การสอบอ่าน ในสตัท จึงเป็นการอ่านแบบที่ 4 คืออ่าน เพื่อสอบ ต้องอ่านให้เร็วทันกับเวลา โดยให้เทคนิคการอ่าน คือ ไม่ต้องอ่านเนื้อหาทั้งหมด ถ้าไม่จำเป็น ไม่ต้องเปิดดิกชั่นนารี่ค่ะ ให้อ่านสิ่งเหล่านี้ค่ะ
- Vraag อ่านคำถามให้เข้าใจว่าถามอะไรก่อนเลยค่ะ Eerst kijkt je naar de vragen!
- Antword อ่านคำตอบให้เข้าใจ ในแต่ละตัวเลือก a,b,c
- Sleutelwoorden หาคำที่เป็นกุญแจ (key word) ในแต่ละ paragraph ว่ามันคืออะไร
ถ้าไม่จำเป็น ไม่ต้องเปิดหาศัพท์ แต่ถ้าอ่านคำถามไม่เข้าใจจริงๆ ควรจะเปิดหา แต่แข่งกับเวลาด้วยเนอะ ไม่งั้นไม่ทัน จริงๆค่ะ ไม่ต้องเข้าใจทั้งหมด อ่านให้หาคำตอบได้เป็นพอแล้วค่ะ
การ สอบอ่าน จะมี 2 ส่วนค่ะ คือบทความสั้นๆ มีหลายข้อ และบทความยาวๆ เรื่องจะยากหน่อย ศัพท์ใหม่ๆเยอะ สอบอ่านจะสอบจะตอบบนหน้าคอมพิวเตอร์ แต่เนื้อหา ให้มาเป้นเล่ม สามารถเปิดดิกชันเนอรี่ได้
ถ้ามีเวลาเหลือ ย้อนกลับมาเปลี่ยนคำตอบได้ค่ะ
Gericht Luistern: เทคนิคการฟังแบบ Fucused listening
ครูให้เทคนิคไว้ 3 ข้อคือ
- Richten ฟังแบบ Direct
- Concenteren ตั้งใจฟัง
- Sleutelwoorden ฟังให้เจอคำที่เป็นกุญแจ เทคนิคนี้แอนตกม้าตาย เพราะไม่รุ้ศัพท์เยอะ แนะนำเลยว่า ใฝ่หาศัพท์ไว้เยอะๆๆ เพราะไม่มีทางจะเปิดดิกได้ ห้ามใช้ดิกค่ะ ตอนสอบฟัง ถึงเปิดได้ ก้อไม่ทันค่ะ ผ่านไปเร็วมากเลย ไม่มีฟังย้อนกลับได้ เพื่อนกลับมาแก้คำตอบได้ แต่ไม่แนะนำให้ทำ เพราะเราจะฟังคำถามต่อไปไม่ทัน และพะวงจ๊ะ
การสอบฟัง อ่านคำถามจากหน้าจอและตอบบนนั้นเลย เจ้าหน้าที่คุมสอบจะแธิบายให้เราใช้เครื่องก่อน อย่างเข้าใจ ไม่ต้องกังวลค่ะ
Spreken: เทคนิคการสอบพูด
อย่าตื่นเต้นค่ะ Niet Paniek และโจทย์ที่ได้ จะมี 3 ลักษณะคือ
- Korte โจทย์สั้นๆ มี 7-8 ข้อ
- Middellange ควรตอบประมาณ 2-3 ประโยคพอ มี 1-2 ข้อ
- Lange จะมี 1-2 ข้อ โจทย์จะมีรุปภาพ เช่นกราฟ ตาราง มาให้วิเคราะห์หรือแสดงความคิดเห็น
เราจะมีเวลาได้คิดก่อน ที่จะเริ่มพูด หลังเสียง ปี๊ป
แนวการให้คะแนน
- Adequaat เค้าต้องเข้าใจว่าเราพุดอะไร การออกเสียง
- Grammatica ดูการใช้หลักไวยกรณ์ ระวังเรื่องการใช้ Inversie, Hoofdzin, Bijzin
- Woorden ใช้คำเหมาะสมกับโจทย์ เช่นโจทย์เกี่ยวกับ Horeca เค้าอยากจะได้ยินเราใช้ศัพท์ที่เหมาะสมกับธุรกิจนี้
- Verstaanbaar เค้าต้องฟังแล้วเข้าใจ ไม่ต้ิองกังวลว่าจะผิด หากเราจะพูดสำเนียงไทย อเมริกัน หรือจีน แต่ขอให้เค้าฟังแล้วเข้าใจ ดังนั้นการออกเสียงต้องชัดเจน เช่นเสียง G และ R
- Samenhang การจัดลำดับเรื่องราวต้องถูกต้อง
- Tempo การพูดต้องต่อเนื่อง ไม่สะดุด ไม่ติดขัด ยกตัวอย่างเช่น เอ่อ อิก เอ่อ เฮบ เอ่อ เอ่อ แบบนี้ไม่ได้ อย่าตื่นเต้น สำคัญมากๆ
- Register ดูการใช้ความสำรวมในการพูด อธิบายเพิ่มเติมด้านล่างคือ
- ในการใช้ U ในสถานการณ์ formal (เป็นทางการ) กับคนไม่รู้จัก เจ้านาย ลูกค้า เป็นต้น
- ใช้ Je ในสถานการณ์ informal (ไม่เป็นทางการ) กับเพื่อน กับครอบครัว
มาดูกันว่า ในการสอบแต่ละส่วน จะได้คะแนนอย่างไร ตามเกณฑ์ข้างต้น
- Korte <= 1+2
- Middellange <= 1+2+3+4+5+7
- Lange <=1+2+3+4+5+6+7
Schrijven : เทคนิคการเขียน
ไวยกรณ์ และการสะกดสำคัญมากๆ แต่ใช้ดิกชั่นเนอรี่ได้ ให้เปิดดูการใช้ Het / De / หรือแม้แต่การเปลี่ยนรุปใน tense ต่างๆ ควรหาซื้อ ดิกชั่นเนอรี่ NL-NL ของ VanDale ที่ใช้สำหรับ NT2 โดยเฉพาะ เพราะจะมีทุกอย่างให้เปิดหาได้ แต่ดีที่สุด ถ้าจำได้ ก้อจะประหยัดเวลา ฝึกเขียนเยอะๆๆ เขียนบ่อยๆๆ จะมีประสบการณ์มากขึ้น
การสร้างประโยค:
- HZ การสร้างประโยคหลัก ต้องระวัง เรื่องการเขียน Inversie เมื่อเราใช้คำแสดงเวลา หรือ Adjective หรือเอา BZประโยคย่อยขึ้นก่อน เช่น Vandaag, ben ik erg ziek.
- BZ การสร้างประโยคย่อย ต้องระวังเรื่องการวางตำแหน่งของ คำกริยาของประโยค จะต้องอยุ่ด้านหลังเสมอ
การเขียนออกความคิดเห็น (Mening)
ให้ใช้รุปประโยค
- Ik vind dat……………………..
- Ik denk dat……………………..
หลังจากนั้น ต้องให้เขียนแสดงเหตุผล (Agrumenten / Redenen)
- , want………..Hoogdzin…………. รุปแบบนี้เป็นประโยคหลัก ประธานกับกริยาต้องอยุ่ติดกันเสมอ!!
- ,omdat……….Bijzin………………รุปแบบนี้เป็นประโยคย่อย ประธานกับกริยาต้องอยุ่แยกทางกัน กริยากระโดดไปท้ายบ้าน(ประโยค)เสมอ!!
การเขียนเพื่อให้คำแนะนำ (Advies)
สามารถใช้กริยา
- moeten
- ใช้กริยารุป Imperatief (stam) คือรูป Infinitive ใน ENG นั่นเอง เช่น Scrijf, Kijk, etc. ***ครูของแอนบอกว่าใช้รุปแบบนี้ง่ายกว่า
การเขียนจัดลำดับเรื่องราว / ให้ขั้นตอน (Samenhang)
มี 2 รูปแบบในการเขียน
- Eerst => Dan => Daarna => Alslaatse
- Ten eerst => Ten tweede => Ten derd => Ten slotte
การเขียนวิเคราะห์รูปภาพ (De grafiek) เช่น กราฟ / ตาราง
เค้าต้องการให้เราเขียนเพื่อให้ข้อมูลดังต่อไปนี้
- Vertellen เขียนวิเคราะห์ว่า เกิดอะไรขึ้น อย่างไรบ้าง
- De Conclusies geeft เขียนแสดงความคิดเห็น หรือให้แนวทางแก้ไข ตามที่โจทย์ถาม
คำศัพท์สำหรับ การเขียนอธิบายกราฟ
กราฟลดระดับลง : Dalen ( Daalde / is gedaald)
กราฟสูงขึ้น: Stijgen (Steeg / is gestegen)
กราฟคงที่: blijf gelijk
เพื่อไม่ให้เพื่อนๆตื่นเต้น ลองมาดูบรรยากาศในห้องสอบจริงๆกัน ในวีดีโอชุดด้านล่างนี้ เป็นคลิปที่หน่วยงาน ที่ดูแลเรื่องการสอบ ได้จัดทำเพื่อให้ข้อมูลในการสอบ แนะนำการใช้โปรแกรมที่่สอบ และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ต่องการรายละเอียดเพิ่มเติม อ่านได้เองโดยกดลิงค์ตรงนี้>>>>>ได้ค่ะ
คืนก่อนวันวันสอบ พักผ่อนให้เพียงพอ ศึกษาเส้นทางการไปสถานที่สอบให้ดี อย่าเครียด หากสอบไม่ผ่าน เค้าให้สอบใหม่ได้ จะสอบเก็บใบประกาศไปทีละตัวก็ได้นะค่ะ ไม่จำเป็นต้องสอบทีเดียวรวด 4 ตัว ถ้าคิดว่าเรายังไม่พร้อม จะได้ไม่เสียดายค่าสอบ เตรียมตัวที่ละตัวก็ดีไปอีกแบบ ไม่เครียดด้วยคะ สอบผ่านครบแล้ว เราค่อยส่งใบ certificate ทั้ง 4 ไปเปลี่ยนเป็น diploma ได้ทีหลัง
หวัง ว่าโน๊ตที่แอนจดมานี้ จะช่วยให้เพื่อนๆๆ มีแนวทางในการเตรียมตัวสอบ และขอให้ทุกๆคนโชคดีคร้าาา
แอน