เมื่อวันศุกร์ที่ 22 พค. 2020 เป็นครั้งที่2 ที่เราได้มีการเปิดห้องเรียนออนไลน์ สอนภาษาดัตช์ เน้นเรื่องการสะกดและการออกเสียง โดย Marijke ซึ่งเป็นคุณแม่ ของสามีแอนเอง สำหรับใครที่เพิ่งผ่านเข้ามาเจอเวบนี้ หรือ เพิ่งตามมาจาก facebook แอนขอเกริ่มนำ ความเป็นมาสั้นๆ ว่า แม่สามีแอน เธอเป็นครูที่ โรงเรียนประถม เป็นคุณครู ที่สอนเสริมให้กับเด็กๆ ที่มีความอ่อน ในวิชาต่างๆ ซึ่งก็มีภาษาดัตช์ด้วย สิ้นปีนี้ เธอก็จะเกษียณ แอนเลยชวนมาทำโปรเจคสอนภาษาดัตช์ ฟรีให้เพื่อนๆคนไทยที่ต้องการจะพัฒนาด้านภาษาดัตช์กัน เธอชอบเป็นอาสาสมัคร อยุ๋แล้ว เวลา หน้าร้อนเวลาโรงเรียนปิดเทอม จะไปเป็นอาสาสมัคร ที่โรงละคร กลางแจ้ง ที่จะมีจัดคอนเสิร์ตตอนหน้าร้อนเป็นประจำ แต่ปีนี้มีเหตุโคโรน่า โรงละครไม่เปิด เธอจะว่าง เลยตอบตกลงทำทันที ไม่ต้องรอหลังเกษียณ จึงเกิดเป็นคอร์สออนไลน์ ให้เพื่อนๆได้เข้ามาเรียนกันนั้นเอง แหะๆ ร่ายยาวมากกกก
ไปดูไลฟ์ย้อนหลังกันคะ
มีหลายคนหลังไมค์มาขอให้แอน ช่วยสรุปโน้ตย่อ ให้อีกทีได้ไหม สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นจริงๆ อาจจะฟังไม่ทัน หรือ เข้าใจที่คุณแม่สอนได้ไม่ทั้งหมด บทความนี้เลยเป็น การจดบันทึกสั้นๆแบบสรุปเท่านั้น คำอธิบายเพิ่มเติม อยากให้พยายามฟังคลิปเอง ฟังย้อนหลังได้มากเท่าที่ต้องการ เป็นการฝึกฟังไปด้วยในตัว มาดูกันว่า สิ่งที่ได้เรียนรู้กันไป มีอะไรบ้าง
ทบทวนการออกเสียง Alfabet
ในบทเรียนครั้งที่แล้ว เราได้ฝีกออกเสียงตัวอักษรทั้งหมดของภาษาดัตช์ ไปแล้ว คุณแม่ออกเสียงให้ฟังอีกครั้ง แบบเร็วๆ
อักษรภาษาดัตช์ มีทั้งหมด 26 ตัว แบ่งเป็น
- พยัญชนะ (Medeklinkers)
- สระ (klinkers)
- Korte klinkers สระออกเสียงสั้น
- Lange klinkers สระออกเสียงยาว
kort | a [อะ] | e [แอะ] | i [อิ] | o [โอะ] | u [อึ] |
lang | aa [อา] | ee [เอ] | ie [อี] | oo [โอ] | uu [อือ] |
และต่อไปนี้คือบทเรียนของครั้งนี้
Aai-ooi-oei woord
อาย – ออย – อุย
ปกติในภาษาดัตช์ เมื่อเราได้ยินเสียงอักษรอะไรบ้าง ก็จะเขียนคำสะกดตามนั้นเลยตรงๆ แต่ 3 คำนี้ เป็นกลุ่มคำที่มีความพิเศษ ที่ได้ยินการออกเสียงลงท้าย j (เยอะ) แต่เรากลับเขียนลงท้ายด้วย i (อิ) แทนที่จะเป็น j ซึ่งคุณแม่บอกว่า ตอบไม่ได้ว่า ทำไม ต้องเป็น แบบนี้ มันเป็น กฎการสะกดของภาษาดัตช์ ต้องจำ และเห็นบ่อยๆจากการอ่าน
มาดูตัวอย่างกัน
หากเราเห็นคำที่สะกดด้วยคำเหล่านี้ แล้วลงท้ายด้วย en นั้นคือ คำนั้น เป็น คำกริยา (werkwoorden) นั่นเอง เช่น
Aaien – อายเยึน – ลูบเบาๆ
Zwaaien – สวายเยึน – โบก(มือ)
Gooien – คอยเยึน – โยน
Strooien – สตรอยเยึน – โปรย
Boeien – บุยเยึน – ดึงดูด / ผูก
Loeien – ลุยเยึน – โอดครวญ
มีสระ อีก หลายเสียง ที่คุณแม่บอกว่า ก็สำคัญที่ควรจะออกเสียงให้ชัด
ui ออกเสียงว่า เอิวย
ตัวอย่างคำ
- Buik
- Lui
- Ruik
- Trui
- Ui
- Bruin
- pruim
- fluit
- spruit
oe – ออกเสียง ว่า อู เช่น moe / koe
au / ou ออกเสียงว่า เอา เหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ต้องจำ อ่านบ่อยๆ เท่านั้น จะทำให้เราสะกดถูก เช่น
mouw – เมาว – แขนเสื้อ
miauw – เหมียว (มิ-เยาว) – เสียงร้องของแมว
Y / ei / ij ก้อเป็นอีก 1 เสียง ที่เราจะออกเสียงเหมือนกัน ว่า แอย (ออกเสียง แอ ลากยาวๆ) แต่เขียนไม่เหมือนกัน จึงเรียกให้ต่างกัน เวลาบอกให้สะกดคำ
Griekse y หรือ i-grec สำหรับ y ไม่ค่อยได้เจอคำดัตช์แท้ สะกดด้วยอักษรตัวนี้ จะไปใช้ ij เสียมากกว่า ถ้าจะเห็น ส่วนใหญ่เราจะเห็น เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษ เช่น คำว่า baby เป็นต้น
Korte ei สำหรับ ei เช่น eiren (ไข่) ออกเสียง แอย-เริ่น
Lange ij สำหรับ ij เช่น ijst (ไอศครีม) ออกเสียง แอย-ซึ-ทึ
Voorzetsels
หรือ preposisie เป็นคำบุพบท บ่งบอกตำแหน่ง ดูตัวอย่างจากภาพ
การบ้าน
Woordzoeker met woorden uit de au-rap en de ei-rap
ลิงค์ดาวโหลดภาพคำถาม >>>
- ให้หาคำที่สะกดด้วย au จากภาพด้านล่าง มีวีดีโอเพลงแรพ ที่มีคำใบ้ให้ด้วย
2. ให้หาคำที่สะกดด้วย ei จากภาพด้านล่าง มีวีดีโอเพลงแรพ ที่มีคำใบ้ให้ด้วย
นี้คือทั้งหมดที่เราได้เรียนกันไป ถ้าแอนตกหล่นตรงไหน หรือให้ข้อมูลผิดไปจากที่คุณแม่สอน สามารถส่งข้อความ แจ้งแอนให้ทราบด้วย จะขอบคุณมากๆเลย แอนถือว่าได้มาทบทวนไปพร้อมๆกันกับเพื่อน แนะนำกันเข้ามาได้นะคะ ว่าอยากให้คุณแม่สอนอะไรเป็นพิเศษ
ตลอดเดือน พค. นี้ เราจะมีเรียนกันทุกวันศุกร์ เวลาบ่ายสามครึ่ง เวลา เนเธอร์แลนด์ สอนสดผ่านไลฟ์ บนเพจ DailyDutchbyAnne อย่าลืมไปกดติดตามกัน จะได้ไม่พลาดข่าวสารสำหรับห้องเรียนกัน
ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์ จะส่งต่อให้เพื่อนๆ สามารถกดปุ่มแชร์ได้เลย แล้วเจอกันในห้องเรียนครั้งถัดไปคร้าา